ขายของยังไงให้รอด !!!!

วันที่เผยแพร่ :
หมวดหมู่ : ห้องความรู้

หลายคนคงกำลังสนใจลงทุนทำธุรกิจซื้อมาขายไป เนื่องจากไม่ต้องยุ่งยากทำการผลิต หรือทำการตลาดมากนัก เพราะของที่นำมาขายนั้นลูกค้ารู้จักอยู่แล้ว เพียงแค่รับมาและส่งต่อเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่าธุรกิจประเภทนี้เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น ทั้งตัวผู้ผลิต และคู่แข่งรายอื่นๆที่ขายสินค้าประเภทเดียวกัน ทำให้การตั้งราคาจะสูงกว่าคู่แข่งทำได้ยาก เรามาดูข้อคำนึงสำหรับคนที่สนใจหรือทำธุรกิจนี้อยู่กันดีกว่า















1.สำรวจความต้องการของผู้บริโภค ว่าผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายคือใคร มีความต้องการสินค้าแบบใด และมีความสามารถในการซื้อมากเพียงใด หรือหากเจ้าของธุรกิจคนใด เริ่มจากการเลือกสินค้าก่อน สินค้าที่เลือกนำมาขายนั้นจะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ หรือหากเป็นสินค้าแฟชั่น จะต้องอยู่ในกระแส หรือต้องมีความแตกต่างที่น่าสนใจกว่าสินค้าตัวอื่นๆ



2.เมื่อทราบสินค้าที่จะขายแล้ว เราต้องมาดูคู่แข่งที่อยู่ในตลาด ทั้งเจ้าเล็กและเจ้าใหญ่ มีใครขายสินค้าชนิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกับเราบ้าง ขายที่ราคาเท่าไหร่ และมีการทำการตลาด และรายการส่งเสริมอย่างไร ถ้าสินค้าเหมือนกันไม่แตกต่างเราอาจไม่สามารถตั้งราคาสูงได้ เนื่องจากลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อเจ้าที่ถูกกว่าได้ จึงต้องมีการจัดโปรโมชั่น เพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งได้


3.หาแหล่งผลิตหรือแหล่งรับสินค้า โดยพยายามหาหลายๆเจ้า เพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจ ซึ่งพิจารณาจากต้นทุนสินค้าที่ต้องรับมา รวมถึงคุณภาพของสินค้า การขายสินค้าคุณภาพต่ำจะไม่สามารถทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าในระยะยาวได้

 

4.เลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีศักยภาพ หากเป็นหน้าร้านอาจมีตัวเลือกการลองนำไปฝากขายก่อน หรือหากต้องการลงทุนสร้างหน้าร้าน จำเป็นต้องเลือกเลือกทำเลที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ และมีปริมาณมากพอที่จะสร้างยอดขายให้กิจการได้ นอกจากนี้ช่องทางออนไลน์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่หลายคนคิดถึง เนื่องจากต้นทุนต่ำและสามารถทำได้ง่าย โดยต้องเลือก Website หรือ Application ที่กลุ่มลูกค้าใช้และจะสามารถเห็นร้านได้ง่าย


5.เมื่อเปิดการขายแล้ว ธุรกิจจำเป็นที่ต้องมีการทำบัญชี เพื่อบันทึกรายรับและรายจ่าย ทำให้เจ้าของธุรกิจทราบว่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว ธุรกิจยังมีกำไรหรือไม่ คงไม่ใช่เรื่องดีที่จะดำเนินงานอย่างขาดทุนเรื่อยๆ เราจึงควรบันทึกจัดทำบัญชีให้สะท้อนความจริงมากที่สุด เพื่อสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ซึ่งต้นทุนที่สำคัญของธุรกิจประเภทนี้จะอยู่ที่ต้นทุนสินค้า นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการขายและทำการตลาด ซึ่งส่วนนี้ต้องควบคุมให้อยู่ในระดับเหมาะสม


6.การจัดการกับสินค้าค้างสต็อก เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับธุรกิจนี้ หากไม่ได้เป็นการซื้อขายแบบเจาะจงลูกค้า ทำสัญญาซื้อขายแน่นอนก่อน เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องแบกรับความเสี่ยงในการที่ต้องรับสินค้านั้นมาก่อน ซึ่งไม่ทราบว่าจะขายได้หมดหรือไม่ ซึ่งหากมีรายได้เข้ามาไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน เจ้าของธุรกิจนี้จึงต้องมีกลยุทธ์และแนวทางจัดการสินค้าค้างสต็อก เพื่อระบายสินค้าให้ได้


7.เจ้าของธุรกิจซื้อมาขายไป หากไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในรูปบริษัทจำกัด จำเป็นจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเงินได้จากธุรกิจประเภทนี้ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 โดยสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ หักตามค่าใช้จ่ายจริง หรือแบบเหมาในอัตรา 60% (มาตรา 8(25) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502,พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560)

ครบทุกการจัดการ ให้คุณมากกว่าระบบบัญชี
Blog: https://www.rabbitaccount.com/th/article
Facebook: http://facebook.com/rabbitaccount

สมัครใช้งานฟรี

คิดอย่างไรกับบทความนี้ ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้เลย

Copyright © Retail republic co.Ltd., 2016
86/69 ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม. 10300 ประเทศไทย | โทร: +66 (084) 053-5325
เกี่ยวกับเรา | Terms & Conditions | Secure payment