เพราะเรื่องเงินสำคัญ จัดการบัญชีเงินสดง่ายๆในหน้าเดียว

วันที่เผยแพร่ :

เคยมั้ยครับที่เปิดบัญชีธนาคารไว้หลายเล่ม หรือให้วงเงินประจำเดือนที่ผู้จัดการร้านสามารถใช้ได้เลยในกรณีฉุกเฉิน แต่ถึงคราจะตรวจสอบการใช้เงิน วุ่นวายกันอุตลุดไปสะทุกที หรือแม้กระทั่งการจดสมุดบันทึกรายการไว้ ก็ลำบากในกรณีที่ต้องตรวจสอบกันย้อนหลัง หากท่านเคยเจอปัญหาที่กล่าวมา ระบบ Rabbit Account สามารถช่วยเจ้าของกิจการจัดการเรื่องเงินๆทองๆอย่างง่ายในหน้าเดียวเลยครับ ด้วยเครื่องมือที่อยู่ในเมนู ข้อมูลการเงิน


            
แถบด้านบนสุดจะมีกล่องสำคัญอยู่ 3 กล่องในการดูแลจัดการเงินแบ่งตามประเภทการใช้งานดังนี้ครับ
1. กล่องเงินสด สำหรับเงินที่อยู่ในมือเจ้าของกิจการเพื่อใช้ในการเบิกจ่ายหมุนเวียนเงินประจำวันหรือประจำเดือน
2. กล่องเงินในบัญชีธนาคาร สำหรับเงินฝากธนาคารในบัญชีประเภทต่างๆ เช่นบัญชีออมทรัพย์ บัญชีกระแสรายวัน หรือฝากไว้คนละธนาคารกันก็จะแสดงยอดรวมทั้งหมดในกล่องนี้เลยครับ 
3. กล่องเงินสำรอง สำหรับวงเงินฉุกเฉินของร้านที่ให้อำนาจผู้จัดการร้าน หรือคนที่เราไว้ใจสามารถใช้เงินก้อนนี้ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องมาขออนุมัติจากเจ้าของกิจการก่อน เช่นในกรณีที่ร้านอาหารดันข้าวที่หุงไว้หมด ทำให้ผู้จัดการร้านต้องไปซื้อข้าวสุกจากที่อื่นมาก่อน จะเห็นว่าเป็นเรื่องด่วนมากๆ หากรอการอนุมัติก่อนคงจะไม่ทันการแน่ๆ ดังนั้นร้านค้าควรมีวงเงินส่วนนี้ไว้เพื่อความคล่องตัวของกิจการนั่นเองครับ 

มาที่กล่องแรกคือกล่องจัดการเงินสด โดยเลือกจากเมนู ข้อมูลการเงิน > จัดการเงินสด
แรกสุดต้องกดปุ่มเพิ่มด้านบนสุดหมายเลข 1. ตามรูปด้านบน เพื่อทำการเพิ่มชื่อบัญชีเงินสดสำหรับใส่ยอดที่ต้องการตรวจสอบ โดยจากตัวอย่าง
 - ระบุชื่อบัญชีเงินสดว่า เงินสดนาย A สมมุติว่าเรามีหุ้นส่วนร่วมหลายคน หรือเก็บเงินไว้หลายกระเป๋า เราจะได้ทราบได้อย่างแม่นยำว่าใครใช้เงินกันไปเท่าไหร่ และคงเหลือเท่าไหร่บ้าง ใช้ไปทำอะไรบ้าง
 - ยอดยกมา คือยอดเงินที่เหลืออยู่ล่าสุดในวันก่อนหน้า หรือวันที่เริ่มใช้งานระบบ Rabbit Account
 - วันที่ยกมา คือวันก่อนหน้าหรือวันที่เริ่มใช้งานระบบ Rabbit Account
ซึ่งยอดยกมา อาจจะไม่ระบุตอนนี้ แล้วค่อยไปใส่เงินเข้าบัญชีหลังจากการเพิ่มชื่อบัญชีก็ได้เช่นกันครับ






หลังจากเราทำการเพิ่มบัญชีเงินสดเข้ามา 2 บัญชีชื่อว่าเงินสดนาย A กับ เงินสดนาย B โดนทั้ง 2 บัญชีจะขึ้นมาแสดงจำนวน 2 แถวตามรูปด้านบนครับ พร้อมทั้งมีปุ่มที่สำคัญจำนวน 5 ปุ่มดังนี้
1. ปุ่มเปิดใช้งาน ใช้สำหรับเปิดหรือปิดบัญชีเงินสดที่เราไม่ต้องการใช้แล้ว โดยหลายท่านอาจจะสงสัยว่า อ้าวว ทำไมถ้าไม่ใช้แล้ว ไม่ให้ลบทิ้งไปเลยล่ะ นั่นก็เพราะว่าถ้าลบทิ้งไปแล้วเราจะดูอดีตที่เราเคยบันทึกไว้ไม่ได้อีกต่อไปนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีค่า ดังนั้นถ้าท่านเลิกใช้บัญชีนั้นแล้ว เพียงแค่กดปุ่มเปิดใช้งาน ให้กลายเป็นปิดใช้งาน เพียงเท่านี้บัญชีที่โดนปิดใช้งานจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกต่อไป
2. ปุ่มรายละเอียด ไว้ดูบัญชีเงินสดที่เราสนใจว่ามีการนำเงินเข้า เงินออกเมื่อไหร่บ้าง หรือมีการนำเงินจากบัญชีนี้ไปใช้จ่ายทำอะไรบ้าง 
3. ปุ่มแก้ไข ไว้สำหรับเปลี่ยนแปลงชื่อบัญชี เช่นเปลี่ยนจากเงินสดนาย A เป็น เงินสดนายร่ำรวย เป็นต้น 
4. ปุ่มเพิ่มเงิน ไว้ใช้สำหรับเจ้าของกิจการต้องการนำเงินส่วนตัวมาใส่ในบัญชีเงินสดสำหรับกิจการ แน่นอนว่าหลายๆท่านสงสัยอีกว่าทำไมต้องทำให้วุ่นวายด้วย เพราะมันก็คือกระเป๋าซ้ายไปเข้ากระเป๋าขวา แต่จริงๆแล้ว ถึงแม้จะเป็นเจ้าของคนเดียว ก็ควรแยกกระเป๋าเงินของกิจการออกจากส่วนตัวนะครับ ไม่งั้นเราจะไม่มีทางรู้เลยว่ากิจการของเราดำเนินไปได้ดีหรือไม่ หรือดีแล้วดียังไง ดีกว่าหรือแย่กว่าอุตสาหกรรมนั่นแหละครับ 


การเพิ่มเงินเข้าบัญชีเงินสด สามารถทำได้ 3 แบบคือ เพิ่มเงินจากเจ้าของกิจการมาโดยตรง หรือ เพิ่มเงินโดยการกู้เงิน หรือ เป็นการหมุนเวียนมาจากบัญชีอื่นของกิจการ เช่น บัญชีธนาคารเป็นต้น 
สำหรับสาเหตุที่ต้องแยกแต่ละแบบ เนื่องจากว่าการเพิ่มเงินเข้ากิจการจะไปกระทบกันคนละบัญชี เช่นถ้าเพิ่มจากเจ้าของ ยอดเงินจะมาจากบัญชีผู้ถือหุ้น แต่ถ้าเราเพิ่มเงินเข้ามาด้วยการกู้ธนาคาร ยอดเงินจะมาจากบัญชีเงินกู้นั่นเอง 
5. ถอนเงิน ไว้สำหรับหมุนเงินจากบัญชีที่จะถอน ไปยังบัญชีอื่นๆในระบบ โดยแบ่งเป็น 3 แบบคือหมุนเงินไปบัญชีธนาคาร หรือ หมุนเงินไปบัญชีเงินสดอื่นๆ หรือหมุนเงินไปเข้าบัญชีสำรอง 



คำถามที่ตามมาคือ แล้วถ้าต้องการหมุนเงินออกไปใช้จ่ายเพื่อการส่วนตัวของเจ้าของกิจการเองล่ะ จะทำอย่างไร ซึ่งปัญหานี้เสมือนกับบริษัทมีกำไร และเจ้าของต้องการนำเงินออกจากกิจการ เราเรียกธุรกรรมแบบนี้ว่าการจ่ายปันผล โดยสามารถทำได้ แต่ต้องนำเงินจากบัญชีเงินสดไปเข้าบัญชีธนาคารก่อน และในบัญชีธนาคารสามารถเลือกปุ่มถอนเงิน และจ่ายปันผลได้นั่นเอง 



จากรูปด้านบนสามารถเลือกได้จาก ข้อมูลการเงิน>>จัดการบัญชีธนาคาร
โดยตามตัวอย่างมีอยู่ 1 บัญชี ชื่อว่าบัญชีนาย A โดยเป็นเงินฝากออมทรัพย์และมียอดเงินในบัญชีอยู่ 50,000 บาท ดังนั้นในกรณีที่เราต้องการ ถอนเงิน มาจ่ายปันผล สามารถเลือกกดปุ่มถอนเงินตามรูปเลข 1 ด้านบน 



หลังจากกดปุ่มถอนเงิน จะมีปุ่มให้เลือกว่า จ่ายปันผล โดยหลังจากเราเลือกจ่ายปันผล ให้เลือกลงบัญชี เงินปันผลจ่าย และใส่ยอดเงินที่จะจ่าย พร้อมวันที่ทำธุรกรรม และกดปุ่มเพิ่มล่างสุด เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถนำเงินออกจากกิจการด้วยการบันทึกข้อมูลครบทุกขั้นตอนทั้งหมด 
ต่อไปมาดูอีกคุณสมบัติที่สำคัญคือจัดการเงินสำรอง โดยเราสามารถเข้าไปดูได้ที่ ข้อมูลการเงิน>>จัดการเงินสำรอง




สำหรับหน้าจัดการเงินสำรอง จะมีส่วนที่แตกต่างจากวงเงินประเภทอื่นๆคือเจ้าของกิจการสามารถตั้งค่าแจ้งเตือนเมื่อเงินเหลือน้อยกว่าที่กำหนดได้ เหตุผลที่ต้องแจ้งเตือนก็เพราะว่าผู้จัดการร้าน หรือคนที่เจ้าของไว้ใจสามารถใช้เงินก้อนนี้ได้ทันที โดยไม่ต้องทำเรื่องอนุมัติ ดังนั้นการแจ้งเตือนจึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่ใส่เข้ามาเพิ่มในหมวดเงินสำรองนั่นเอง โดยตามรูปด้านบนยอดคงเหลือในบัญชีมีจำนวน 5,000 บาท โดยให้แจ้งเตือนเมื่อเงินเหลือต่ำกว่า 1,000 บาท เพราะว่าหากต่ำกว่า 1,000 บาท เจ้าของกิจการสามารถรู้และเติมเงินให้เต็ม 5,000 บาทอีกครั้งได้ทันนั่นเองครับ เพราะไม่งั้นต้องให้ลูกน้องสำรองเงินจ่ายก่อนไปล่วงหน้า มันจะกลายเป็นเราไม่ดูแลลูกน้องให้ดีนะครับ อาจเกิดปัญหาลูกน้องไม่อยากทำงานและลาออก ต้องหาคนใหม่ให้วุ่นวายใจกันอีกปล่าวๆ
มาถึงคุณสมบัติสุดท้ายที่เราภูมิใจเสนอคือการกระทบยอดเงินฝากธนาคารครับ เพราะระบบ Rabbit Account ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเงินฝากของธนาคารจริงๆ ดังนั้นสมมุติว่าเราฝากเงินไว้ 50,000 บาท เมื่อระยะเวลาผ่านไปเราต้องได้ดอกเบี้ยถูกมั้ยครับ? ดังนั้นแน่นอนว่าถึงแม้เราไม่ได้ทำอะไรกับธุรกรรมธนาคารนี้เลย แต่พอสิ้นปี หรือสิ้นเดือน เงินมันต้องเพิ่มมากกว่า 50,000 บาทแน่ๆ หรือกรณีที่เรามีการถอนเงินไปใช้จ่ายต่างๆ อาจมีค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างธนาคาร ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ในระบบ Rabbit Account ควรจะปรับให้ตรงกับบัญชีที่เราฝากไว้จริงๆ ซึ่งก่อนที่เราจะทำการปรับปรุงกระทบยอดบัญชี เราควรไป Update ยอดสมุดเงินฝากของเราให้เป็นตัวเลขล่าสุดก่อนครับ 



เราสามารถเข้าเมนูนี้ได้จาก ข้อมูลการเงิน>>กระทบยอดเงินฝากในบัญชีธนาคาร 
โดยเลือกปุ่มเพิ่มด้านบนขวาตามเลข 1 ของรูปด้านบน



หลังจากกดปุ่มเพิ่มแล้ว เราทำการเลือกบัญชีที่ต้องการกระทบยอดได้เลย ซึ่งตามรูปด้านบนเลือกบัญชี นาย A ธนาคารกสิกรไทย และมียอดเงินในระบบ Rabbit Account จำนวน 45,000 บาท โดยหลังจากเราเปิดดูในสมุดธนาคารที่ Update รายการมาล่าสุดแล้วมียอดเงินจริงๆอยู่ 45,050 บาท และเราทราบว่า 50 บาทมาจากดอกเบี้ยรับธนาคาร ดังนั้นเราสามารถเลือกรายการด้านล่างเป็น ดอกเบี้ยรับธนาคาร จำนวนเงิน 50 บาท และกดเพิ่มล่างสุด เพียงเท่านี้ยอดในบัญชีจริงและบัญชีในระบบจะมีค่าเท่ากันพอดี 

มาทำให้การลงรายรับรายจ่าย และการดูเงินสดเป็นเรื่องสนุกสนานกันเถอะครับ พวกเราทีมงาน Rabbit Account ยินดีช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกท่านให้ใช้งานง่ายและเข้าใจได้ดีที่สุดอย่างเต็มความสามารถแน่นอนครับ ส่วนใครมีคำถามเพิ่มเติมในการใช้งานเมนูจัดการเงิน สามารถ Chat หรือ Email มาถามเราได้ที่ [email protected] ได้ทันทีครับ 


ครบทุกการจัดการ ให้คุณมากกว่าระบบบัญชี
Blog: https://www.rabbitaccount.com/th/article
Facebook: http://facebook.com/rabbitaccount

สมัครใช้งานฟรี

คิดอย่างไรกับบทความนี้ ร่วมแสดงความคิดเห็นกันได้เลย

Copyright © Retail republic co.Ltd., 2016
86/69 ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กทม. 10300 ประเทศไทย | โทร: +66 (084) 053-5325
เกี่ยวกับเรา | Terms & Conditions | Secure payment